ศูนย์พระเครื่อง phantippowertools.com

พระแท้ ตามมาตรฐานสากล

    

 ยินดีต้อนรับ นักนิยมสะสมพระเครื่องทุกท่าน

เราบริการให้เช่าบูชา   พระเครื่อง     พระกรุ      พระเนื้อดิน เหรียญคณาจารย์ ต่างๆ

      ในราคาย่อมเยาว์ มีทั้งประเภทรับประกันแท้ และ ประเภทวัดดวง ( ไม่มีการรับประกัน )

สำหรับพระเครื่องที่อยู่ในหน้านี้ รับประกันแท้ทุกองค์ ตามมาตรฐานสากล  ติดต่อสอบถามที่  โทรศัพท์ 056-310760  มือถือ  081- 7075038

พระแก้วมรกต  ปี 2542 เนื้อผง พิมพ์ฤดูฝน วัดอรุณราชวราราม   รายการทีี่ F 483 ราคาเช่าบูชา 99 บาท

ประวัติวัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเรียกว่า "วัดมะกอก" ตามชื่อตำบลบางมะกอกซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งวัด ภายหลังเปลี่ยนเป็น "วัดมะกอกนอก" เพราะมีวัดสร้างขึ้นใหม่ในตำบลเดียวกันแต่
อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ชื่อ "วัดมะกอกใน" ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชม
พระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ
กรุงธนบุรีจึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทาง
ชลมารคถึงหน้าวัดมะกอกนอกนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น "วัดแจ้ง" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัด
นี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรีและได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่ มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตั้งอยู่กลาง
พระราชวังจึงไม่โปรดให้มีพระสงฆ์จำพรรษา
นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่กรุงธนบุรีเป็น
ราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้าน
คู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐาน
พระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่งสมเด็จ
พระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ได้
อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์นี้มา
จากลาวในคราวที่เสด็จตีเมืองเวียงจันทร์
ได้ในปี พ.ศ. ๒๓๒๒โดยโปรดให้อัญเชิญ
พระแก้วมรกตและพระบางขึ้นประดิษฐานเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราช รัชกาลที่ ๑ เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ได้โปรดให้สร้างพระนครใหม่ฝั่งตะวันออก
ของแม่น้ำเจ้าพระยา และรื้อกำแพงพระราชวังกรุงธนบุรีออก วัดแจ้งจึงไม่ได้อยู่ในเขตพระราชวังอีกต่อไป พระองค์จึงโปรดให้วัดแจ้งเป็นวัดที่มี
พระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นพระองค์ทรงมอบหมายให้สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
(ร. ๒) เป็นผู้ดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง
ไว้ในมณฑป และมีการสมโภชใหญ่ ๗ คืน ๗ วัน(ในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ พระแก้วมรกตได้ย้ายมาประดิษฐาน ณ วัด
พระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมหาราชวัง ส่วนพระบางนั้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรด
พระราชทานคืนไปนครเวียงจันทร์)
แต่สำเร็จเพียงแค่กุฎีสงฆ์ก็สิ้นรัชกาลที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๓๕๒ เสียก่อน ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระองค์ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ
ทั้งได้ทรงปั้นหุ่นพระพุทธรูปด้วยฝีพระหัตถ์ และโปรดให้หล่อขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธาน
ในพระอุโบสถ และโปรดให้มีมหรสพสมโภชฉลองวัดในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ แล้วโปรดพระราชทาน
พระนามวัดว่า "วัดอรุณราชธาราม"
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ
ใหม่หมดทั้งวัด พร้อมทั้งโปรดให้ลงมือก่อสร้างพระปรางค์ตามแบบที่ทรงคิดขึ้น
จนสำเร็จเป็นพระเจดีย์สูง ๑ เส้น ๑๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ กับ ๑ นิ้ว ฐานกลมวัดโดยรอบได้
๕ เส้น ๓๗ วา ซึ่งการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ภายในวัดอรุณฯ นี้สำเร็จลงแล้ว
แต่ยังไม่ทันมีงานฉลองก็สิ้นรัชกาลที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ
พระองค์ได้โปรดให้สร้างและปฏิสังขรณ์
สิ่งต่าง ๆ ในวัดอรุณฯ เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง
ทั้งยังได้อัญเชิญพระบรมอัฐิของ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
มาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของ
พระประธานในพระอุโบสถที่พระองค์
ทรงพระราชทานนามว่า
"พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก"
และเมื่อได้ทรงปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว
จึงได้พระราชทานนาม
วัดเสียใหม่ว่า"วัดอรุณราชวราราม" ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน
ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เกิดเพลิงไหม้พระอุโบสถ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถใหม่เกือบทั้งหมด โดยได้โปรดให้กรมหมื่นปราบปรปักษ์เป็นแม่กองในการบูรณะ และโปรดเกล้าฯให้นำเงิน
ที่เหลือจากการบริจาคของพระบรมวงศานุวงศ์ไปสร้างโรงเรียนตรงบริเวณกุฎีเก่า
ด้านเหนือ ซึ่งชำรุดไม่มีพระสงฆ์อยู่เป็นตึกใหญ่แล้วพระราชทานนามว่า "โรงเรียนทวีธาภิเศก" นอกจากนั้นยังได้โปรดให้พระยาราชสงครามเป็นนายงานอำนวยการปฏิสังขรณ์พระ ปรางค์
องค์ใหญ่ และเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงโปรดให้มีการฉลองใหญ่รวม ๓ งานพร้อมกันเป็นเวลา
๙ วัน คือ งานฉลองพระไชยนวรัฐ งานบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุสมมงคล คือ มีพระชนมายุเสมอพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ งานฉลองพระปรางค์
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายอย่าง โดยเฉพาะพระปรางค์วัดอรุณฯ ได้รับการปฏิสังขรณ์
เป็นการใหญ่มีการประกอบพิธีบวงสรวงก่อนเริ่มการบูรณะพระปรางค์ใน
วันพุธที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๑๐ และการบูรณะก็สำเร็จด้วยดีดังเห็นเป็นสง่างามอยู่จนทุกวันนี้

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิสังขรณ์และฉลองวัดและพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอรุณราชธาราม" ครั้นถึงรัชการพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์
เพิ่มเติมอีก แล้วทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดอรุณราชวราราม" ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน


 

ประกาศ เนื่องจากทางเว๊ปไซด์ ได้ทำการเปิดร้านค้า ที่เว๊ปไซด์ ANTIGPRA.COM จำนวนหลายร้าน มีรายการพระเครื่อง อีกจำนวนมาก

และทำการอัพเดทข้อมูลเรื่อยๆ เนื่องจากระบบร้านค้าของเว๊ป ANTIGPRA.COM สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

เพื่อป้องกันความสับสน กับ รายการพระเครื่อง ท่านควรแจ้งรายการพระเครื่องที่ท่านต้องการ ว่าท่านพบรายการพระเครื่อง ที่ร้านค้าใด

เช่น ร้าน ANTIG 1 หรือ ร้าน ANTIG 2 หรือ ร้าน ANTIG 6 ท่านสามารถเข้าชมรายการพระเครื่องได้ที่ ลิ้งแบนเนอร์ ด้านล่าง

 

ค่าจัดส่งทางไปรษณีย์ EMS ทั่วประเทศ ฟรี ............

ยกเว้น พระเครื่องที่มีนํ้าหนักมาก และ จตุคามรามเทพ กรณี สั่งซื้อเช่าบูชาจำนวนมาก ขอจัดส่งแบบ ลงทะเบียน หรือ LOGISTIC

โอนเงินมาที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนสายเอเซีย หมายเลขบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 403-2-25342-9

หรือ

ธนาคารธนชาต สาขาย่อยโลตัส พิษณุโลก หมายเลขบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 517-2-02276-8

ชื่อผู้ถือบัญชี นายอุดร เหลืองวิชชเจริญ

ก่อนโอนมาให้ท่านสอบถามก่อนว่า พระเครื่องที่เราลงในหน้าเว๊ป ยังคงอยู่หรือไม่

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา และ ค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

สนับสนุนโดย ยานวดยอดธงไทย

จตุคามรามเทพ